วันอังคารที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2555


บทที่ 2
เอกสารที่เกี่ยวข้อง
ผู้อำนวยการสำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา  (อย.) ให้สัมภาษณ์ถึงสารซูดาน เรด เป็นสีย้อมในตระกูลซูดาน มีตั้งแต่ซูดาน 1 จนถึงซูดาน 4 ซึ่งซูดาน 1 จะมีสีแดง จึงเรียกว่า ซูดาน เรด จะใช้ในอุตสาหกรรม เช่น เป็นสีผสมในพลาสติก ยาขัดพื้น ยาขัดรองเท้า เป็นต้น สารซูดานมีคุณสมบัติที่มีสีสดใส ติดทนนาน
แต่ผลการวิจัยพบว่า สารซูดาน เรด เป็นสารก่อมะเร็งโดยหน่วยงานนานาชาติด้านการวิจัยเกี่ยวกับมะเร็ง ระบุว่า สารซูดาน เรด อาจมีผลต่อการทำลาย DNA การทำลายดังกล่าวสามารถส่งผลให้เกิดเนื้องอกที่ร้ายแรงได้ นอกจากนี้ การได้รับอันตรายจากสารซูดานนอกจากการรับประทานแล้วอาจได้รับอันตรายจากการสูดดมหรือสัมผัสกับผิวหนังได้
                 เมื่อเป็นเช่นนี้ถึงเวลาแล้วหรือยังที่ผู้บริโภคจะเริ่มตื่นตัวกับสิ่งที่สามารถเลี่ยงได้ อย่างเช่น น้ำยาขัดรองเท้า ที่มีตัวเลือกสามารถใช้ที่ทำจากผลผลิตจากธรรมชาติที่วิทยาลัยการอาชีพวังสะพุง จังหวัดเลย มีโครงงานทำยาขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้ ที่ทางวิทยาลัยให้การสนับสนุนให้นักศึกษาค้นคว้า โดยผลงานการทดลองทำยาขัดรองเท้าจากเปลือกผลไม้ ทางวิทยาลัยได้นำมาสอนให้กับนักศึกษาเพื่อให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์และยังสามารถสร้างรายได้แก่นักศึกษา  โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำคือ อาจารย์ฉลวย  แสงดี อาจารย์ละมูล น้อยมี และ อาจารย์แสงวุฒิ  แสนสุภา
เนื่องจากเห็นเพื่อน ๆ ซื้อ เงาะ มังคุด ทุเรียน มากินแล้วนำเปลือกมาทิ้งขยะทำให้เน่าส่งกลิ่นเหม็นแมลงวันตอม ทางกลุ่มเราเลยเห็นว่ารองเท้าของเพื่อนนักศึกษาหญิงไม่เงางาม ทางกลุ่มเราเลยระดมคิดเห็นประโยชน์ของเปลือก เงาะ มังคุด ทุเรียน ดังนั้น หากนำของที่เหลือทิ้งมาเพิ่มมูลค่าให้เกิดประโยชน์ เพราะที่ผ่านมามีเปลือกผลไม้ทิ้งเป็นขยะจำนวนมากมาย ยามถึงฤดูผลผลิตนั้นโดยเฉพาะเปลือกมังคุด เปลือกทุเรียน ปล่อยให้ส่งกลิ่นเหม็นแมลงวันตอมสร้างความรำคาญให้กับผู้อยู่ใกล้เคียงจนเกิดมีปัญหามลภาวะในเรื่องกลิ่น  ทางกลุ่มแน่ใจว่าคุณสมบัติเท่าเทียมกับยาขัดรองเท้าที่วางจำหน่ายในท้องตลาดที่มีราคาแพง จึงได้ผลิตออกมาทดลองใช้กันเองในวิทยาลัยการอาชีพวังสะพุง


เงาะ
ชื่อไทยเงาะ
ชื่อสามัญ : Rambutan
ชื่อวิทยาศาสตร์ :  Nephelium lappaceum Linn.
ชื่อวงศ์ : SAPINDACEAE
ชื่ออื่น : ปัตตานีเรียกว่า กะเมาะแต มอแต พรวน เงาะป่า
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
เงาะเป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลางแตกกิ่งก้าน ใบ ลักษณะคล้ายรูปขนนก ใบย่อยรูปโค้งหรือรูปไข่ ดอก เงาะนั้นจะออกดอกออกช่อๆ อยู่ที่ปลายช่อ เป็นกลุ่มย่อยๆ มีสีนวลอ่อนๆ ผล มีรูปร่างวงรี มีขนยาว ผลดิบมีสีเขียว ผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีแดง และเขียวอมเหลือง ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของเงาะ เนื้อในนั้นมีสีขาว รสหวาน เมล็ด เป็นรูปขนาน และคลุมด้วยเนื้อเยื่อสีขาว
สรรพคุณทางยา : ใบเงาะ นำมาเป็นยาพอก ผลเงาะ มีเปลือกเป็นยาแก้โรคบิด แก้ท้องอืดเฟ้อ บำรุงกำลังบำรุงร่างกายและแก้ไข้ เปลือกต้นเงาะ เป็นยาสมานแผลที่ลิ้น แก้ท้องร้วง เมล็ดเงาะ ทำให้หลับ 

สรรพคุณ
                เงาะเป็นผลไม้อีกชนิดหนึ่งที่มีขายกันอยู่ทั่วไป เป็นผลไม้รสหวาน เปรี้ยว จัดเป็นยาที่มีฤทธิ์อุ่น ไม่มีพิษ ผลเงาะสด เมื่อรับประทานจะมีสรรพคุณ ใช้แก้อาการท้องร่วงชนิดรุนแรงได้ เปลือกผลเงาะ นำมาต้มกับน้ำ รับประทานมีสรรพคุณใช้เป็นยาแก้อักเสบ มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย รักษาอาการอักเสบในช่องปาก และโรคบิด ท้องร่วงเม็ดในของเงาะ มีพิษ จึงมีข้อควรระวังคือ ไม่ควรนำมารับประทาน เพราะแม้ว่าจะเอาไปคั่วจนสุกแล้วก็ตาม ซึ่งถ้ารับประทานมากเกินไปจะมีอาการปวดท้อง เวียนศรีษะ มีไข้ คลื่นไส้ และอาเจียนได้

ทุเรียน


ชนิดพืช : ทุเรียน
 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Durio zibethinus L.  
ชื่อวงศ์ :  BOMBACEACEAE
ชื่อสามัญ : Durian
 ชื่อท้องถิ่น
: ภาคเหนือ เรียก มะทุเรียน ภาคใต้ เรียก เรียน มาเลเซีย-ใต้ เรียก ดูรียัน (กัวลาลัมเปอร์-เคดาห์)    ดือแย (กลันตัน-ตรังกานู)

ประวัติของทุเรียน
                ทุเรียนมีถิ่นกำเนิดบริเวณหมู่เกาะอินเดีย ในแถบเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้ผลที่มีขนาดผลใหญ่ มีหนามแหลม รสชาติหวานมัน ได้ชื่อว่าเป็นราชาของผลไม้ (King of the fruits) เนื้อทุเรียนให้ธาตุอาหารหลายชนิด ได้แก่ ไนโตรเจน แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมงกานีส โพแทสเซียม และกำมะถัน เนื่องจากทุเรียนเป็นผลไม้ที่ได้รับความนิยม มีตลาดทั้งภายในประเทศ และต่างประเทศ ทำให้ในปัจจุบันทุเรียนเป็น ไม้ผลที่ได้รับความนิยมของคนทั่วโลก
                ปัจจุบันมีการปลูกทุเรียนเป็นจำนวนมากในทุกภาคของประเทศไทยเช่น ภาคเหนือ ที่อำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จังหวัดนครพนม ภาคกลาง ที่จังหวัดนนทบุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี และสระบุรี ภาคใต้ ที่จังหวัดชุมพร สุราษฎร์ธานี นราธิวาส และตรัง ภาคตะวันออก ที่จังหวัดจันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และตราด จากสถิติการเพาะปลูก และพื้นที่การปลูกทุเรียน อาจกล่าวได้ว่าจังหวัดจันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี และตราด เป็นแหล่งผลิตทุเรียนที่สำคัญของประเทศ
                "ดูเรียน" (Durion) ชาวสยามเรียกว่า "ทูลเรียน" (Tourrion) เป็นผลไม้ที่นิยมกันมากในแถบนี้ แต่สำหรับข้าพเจ้าไม่สามารถ ทนต่อกลิ่นเหม็นอันรุนแรงของมันได้ ผลมีขนาดเท่าผลแตง มีหนามอยู่โดยรอบ ดูๆ ไปก็คล้ายกับขนุนเหมือนกัน มีเมล็ดมาก แต่เมล็ดใหญ่ขนาดเท่าไข่ไก่ซึ่งเป็นส่วนที่ใช้กิน ภายในยังมีอยู่อีกเมล็ดหนึ่ง ถือกันว่ายิ่งมีเมล็ดในน้อยยิ่งเป็นทูลเรียนดี อย่างไรก็ตาม ในผลหนึ่งๆ ไม่เคยปรากฏว่ามีน้อยกว่า 3 เมล็ด

ประโยชน์ของทุเรียน
เนื้อทุเรียน - รสหวานร้อน ทำให้เกิดความร้อน แก้โรคผิวหนัง ทำให้ฝี-หนอง แห้ง เนื้อทุเรียนมีฤทธิ์ขับพยาธิ   เปลือกหนามทุเรียน - รสเฝื่อน นำมาสับแช่ในน้ำปูนใสใช้ชะล้างแผลที่เกิดจากน้ำเหลืองเสีย แผลพุพอง หรือนำมาเผาทำถ่าน บดจนเป็นผง คลุกในน้ำมันมะพร้าว หรือน้ำมันงา ลดความบวมพองจากคางทูม และเผาเอาควันไล่ยุงและแมลง  ใบทุเรียน - รสเย็นและเฝื่อน ใช้ต้มน้ำอาบแก้ไข้ แก้ดีซ่านและเป็นส่วนผสมในยาขับพยาธิ  รากจากต้นทุเรียน ตัดเป็นข้อ ๆ ต้มให้เดือด ดื่มบรรเทาอาการไข้และรักษาอาการท้องร่วง


มังคุด


ชื่อไทย : มังคุด
ชื่อพื้นเมือง : ไทย แมงคุด, พม่า เมงค้อฟ
ชื่อสามัญ : Mangosteen
ชื่อพฤกษศาสตร์ : Garcinia mangostana L.
ชื่อวงศ์ : CLUSIACEAE
แหล่งกำเนิดและการกระจายพันธุ์ : มาเลเซีย
ลักษณะ : ไม้ยืนต้น ลำต้นตั้งตรง ไม่ค่อยแตกกิ่งก้าน ผิวลำต้นเรียบ ทุกส่วนมียางสีเหลือง
ใบ เดี่ยวใบรูปไข่ ขนาดใหญ่ ขอบใบเรียบ เนื้อใบหนาค่อนข้างเหนียว ผิวใบมัน มีต้นตัวผู้กับต้นตัวเมียแยกจากกัน
ดอก เดี่ยวออกที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงสีเขียวอมเหลือง แข็ง จะคงทนอยู่จนกลายเป็นผล กลีบดอกสีชมพูเข้ม ร่วงง่าย
ผล ค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย ผลอ่อนสีเหลืองอมเขียว ผิวผลแข็ง ผลแก่สุกจะเป็นผลสีม่วงดำ ผิวด้านในสีชมพูอมม่วง เปลือกผลหนา ผิวผลนิ่ม ภายในมีมีเนื้อสีขาว รสหวาน หรือ หวานอมเปรี้ยว มีเนื้อใน 5-7 กลีบ มีเมล็ก 0-2 เมล็ด ในหนึ่งผลมีเมล็ดใหญ่เพียงหนึ่งเมล็ด
ส่วนที่ใช้ : เปลือกผลแก่แห้ง
มังคุดเป็นพืชในสกุลเดียวกับมะดัน และส้มแขก มีถิ่นกำเนิดทางภาคใต้ของไทยต่อกับประเทศมาเลเซีย ในอดีตมีการปลูกเฉพาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เท่านั้น ปัจจุบันได้มีผู้นำไปปลูกในประเทศเขตร้อนอื่นๆ เช่น ศรีลังกา อินเดีย บราซิล และออสเตรเลีย แต่ประเทศผู้ส่งออกสำคัญยังเป็นประเทศไทย มาเลเซีย และฟิลิปปินส์
นอกจากกินเป็นผลไม้สดแล้ว ยังมีการทำเนื้อมังคุดแช่แข็งเพื่อส่งออก เมื่อถึงผู้บริโภคปลายทางก็นำมาละลายน้ำแข็งกินได้เช่นกัน เปลือกมังคุดให้สีม่วง ใช้ทำน้ำยาขัดรองเท้า ใช้ย้อมสีหนัง ใช้เป็นยาฝาดสมาน และผสมในเครื่องสำอาง
ประโยชน์ต่อสุขภาพ
                สารสกัดมังคุด มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย อันเป็นสาเหตุอาการท้องเสีย สารที่พบมากที่เปลือกคือ tannin มีฤทธิ์ฝาดสมาน จึงช่วยแก้อาการท้องเสีย นอกจากนี้ยังมีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย สาเหตุการเกิดหนอง และยังรักษาแผลได้





งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

นางสาวธิดารัตน์     หอมสมบัติละคณะ ( บทคัดย่อ  :  2552 ) โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง น้ำยาขัดรองเท้าจากเปลือกมังคุด  ซึ่งในน้ำยาขัดรองเท้ามีสารพิษที่มีชื่อว่าสารซูดาน เรด (Sudan Red) ผสมอยู่ ซึ่งเป็นสีที่ใช้ย้อมในตระกูลซูดาน  มีคุณสมบัติสีสดใส  ติดทนทาน  จากการวิจัยของหน่วยงานนานาชาติด้านการวิจัย พบว่า  สารซูดาน เรด  มีผลต่อการทำลาย DNA ซึ่งจะส่งผลให้เกิดเนื้องอกได้  ซึ่งสารพิษชนิดนี้สามารถเข้าสู่ร่างกายของคนเราได้ด้วยการรับประทาน  การสูดดม  หรือการสัมผัส   คณะผู้จัดทำจึงสนใจที่จะนำวัสดุจากธรรมชาติ เช่นเปลือกผลไม้มาใช้ในการทำน้ำยาขัดรองเท้า ทั้งนี้คณะผู้จัดทำสนใจนำเปลือกมังคุดแห้งมาใช้ในการทำน้ำยาขัดรองเท้า   
การศึกษาเปรียบเทียบค่าความมันวาวที่ได้จากน้ำยาขัดรองเท้าในอัตราส่วนต่างๆ ที่ประกอบไปด้วยกาบมะพร้าวที่แห้งและเผา : วาสลีน: ฟาราฟิน: ขี้ฝึ้ง  คิดเป็นอัตราส่วนดังนี้  3:1:1:1, 2:1:1:1, 1:1:1:1 ซึ่งวัดค่าความมันวาวได้ 4.75, 3.5  และ 2.75  ตามลำดับ
เปลือกกล้วยขัดรองเท้าได้ กล้วย นอกจากความอร่อยของมันแล้ว เปลือกของมันก็มีประโยชน์มิใช่น้อย เนื่องจากมันสามารถนำมาใช้แทนน้ำยาขัดรองเท้าได้ เนื่องจากในกล้วยมีโปแตสเซียมอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นส่วนผสมหลักในน้ำยาขัดรองเท้าทั่วไป ดังนั้นเราจึงสามารถนำเปลือกกล้วยด้านในมาขัดรองเท้าได้
คลังโครงงานวิทยาศาสตร์ ( 2010: โครงงานวิทยาศาสตร์ เรื่อง ผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้า  พบว่าวัสดุชีวภาพสามารถนำมาผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าได้ และยังสามารถให้ความเงางามกับรองเท้าไม่แตกต่างจากผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าทั่วไป และยังมีคุณสมบัติพิเศษต่างจากผลิตภัณฑ์ขัดรองเท้าทั่วไปคือ มีกลิ่นหอม ไม่เปื่อนมือ